โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่องผ้าไหมไทยอนุรักษ์ความเป็นไทย


Welcome to my blog



ชื่อโครงงาน
 (ภาษาไทย)         การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง ผ้าไหมไทย อนุรักษ์ความเป็นไทย            
 (ภาษาอังกฤษ)   Development of educational materials over the Internet with Thai silk.
คุณครูที่ปรึกษา  คุณครูลัดดาวัลย์  มามาตร

ชื่อผู้ทำโครงงาน
1.             ด.ญ.ทิพากร                  เจริญสัตย์              เลขที่ 11                ชั้นม.3/9
2.             ด.ญ.ธัญชนก                ป้อมมาก                เลขที่ 12                ชั้นม.3/9
3.             ด.ญ.ธัญญาทิพย์          ฉินนะโสต            เลขที่ 13                ชั้นม.3/9
4.             ด.ญ.บุศรินทร์              ดวงแก้ว                 เลขที่18                 ชั้นม.3/9


1.    ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากคนไทยในปัจจุบันนิยมนำวัฒนธรรมต่างชาติมาใช้ไม่ว่าจะเป็น  ของแบรนแนมต่างๆ  ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ  และรวมไปถึงการแต่งกายในสมัยนี้ที่นิยมนำวัฒนธรรมต่างชาติมา ใช้ในชีวิตประจำวัน  การแต่งกายในสมัยนี้ก็เช่นกัน  การแต่งกายในสมัยนี้นิยม  แต่งกานแบบเปิด เผยนุ่งน้อยห่มน้อยกันมากขึ้น ผิดกับการแต่งกายในสมัยโบราณที่นิยมแต่งชุดไทยไปงานต่างๆ แต่ ในสมัยนี้นิยมแต่งชุดสากลไปงานต่างๆ แทน
คณะผู้จัดทำจึงตระหนักถึงการแต่งกายในสมัยปัจจุบัน อยากให้ทุกคนหันมาแต่งกายแบบไทยกันมากขึ้น อยากให้ทุกคนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ความเป็นไทย จากการศึกษาเรื่องการแต่งกายจากสื่อต่างๆ คณะผู้จัดทำ จึงจัดทำเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่องการแต่งกายในสมัยปัจจุบัน เพื่อให้คนไทยทุกคนหันมาอนุรักษ์ความเป็นไทยกันมากขึ้น



2.     วัตถุประสงค์ของโครงงาน

2.1       เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บไซต์ เรื่อง ผ้าไหมไทย
2.2       เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.3       เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป

3.    ขอบเขตของการศึกษาโครงงาน    
             ศึกษาในบริเวณท้องถิ่นของตน เช่น บ้าน โรงเรียน และวิเคราะห์หาว่าคนที่โรงเรียน และแต่ละท้องถิ่น โดยศึกษาจากแต่ละภาค  เช่น ภาคเหนือ  ผ้าที่ทอในบริเวณภาคเหนือหรือล้านนา ปัจจุบันคือบริเวณภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน จนถึงดินแดนบางส่วนของประเทศพม่า ประเทศจีน และประเทศลาว  ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ ๑๘ จังหวัด ประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่า ๒๐ ชาติพันธ์ ส่วนมากเป็นกลุ่มชนชาวไทยเชื้อสายไท-ลาว หรือชนเผ่าไท-ลาว ที่คนไทยภาคอื่นมักเรียกว่า  ลาวได้ดังนี้ กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดเลย  นครราชสีมา และชัยภูมิ มีความใกล้ชิดกับหลวงพระบาง  กลุ่มชนในเขตจังหวัดหนองคาย  อุดรธานี ขอนแก่น มีความใกล้ชิดกับเวียงจันทน์  กลุ่มชนในเขตจังหวัดนครพนม สกลนคร และกาฬสินธุ์  เป็นกลุ่มผู้ไทหรือภูไท  กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และมหาสารคาม  โน้มเอียงไปทางจำปาสัก  กลุ่มชนในบริเวณภาคอีสานมิได้มีเฉพาะคนไท-ลาวเท่านั้น ยังมีกลุ่มชนเผ่าอื่นๆ อีกเช่น ข่า กระโส้ กะเลิง ส่วย และเขมร โดยเฉพาะเขมรและส่วยซึ่งกระจายกันอยู่ในบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์       ภาคกลาง  ผ้าทอตามกรรมวิธีพื้นบ้านในบริเวณภาคกลาง ส่วนมากเป็นกลุ่มชนเผ่าไทที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามถิ่นต่างๆ ได้แก่ กลุ่มไทพวน ไทยวน ไทดำ เป็นต้น  ภาคใต้  ผ้าที่ทอในบริเวณดินแดนภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจรดเขตประเทศมาเลเซีย ที่มีความยาวของพื้นที่ประมาณ ๗๕๐ กิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นแผ่นดินแคบและคาบสมุทร ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกทอดไปตามอ่าวไทย ได้แก่ บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส จากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกขึ้นไปทางด้านทิศตะวันตกบนผืนแผ่นดินมีเทือกเขาสำคัญที่เป็นสันของคาบสมุทร


4.     วิธีดำเนินงาน
เครื่องมือและอุปกรณ์
      1.             คอมพิวเตอร์
      2.             เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
      3.             เว็บบราวเซอร์
      4.             เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก
วิธีดำเนินงาน
    1.             ศึกษาค้นคว้าการทำเว็บไซต์ด้วยการสร้างเว็บบล็อก
    2.             สมัครสมาชิกเว็บบล็อกของเว็บไซต์ http://wwwblogger.com/
    3.             ออกแบบหน้าเว็บ          
    4.             ตกแต่งเว็บบล็อกด้วย JAVA SCRIPT
    5.             นำเสนอเว็บบล็อก


5.     ระยะเวลาดำเนินการ  ประมาณ 1 เดือนครึ่ง (สิงหาคม พ.. 2554 – กันยายน พ.. 2554)
  1. 1 - 5 ส.ค.                                   คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
  2. 8 -12 ส.ค.                                  ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
  3. 15-19 ส.ค.                                 จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
  4. 22-26 ส.ค.                                 ลงมือทำโครงงาน
  5. 29 ส.ค.- 2 กย.                           เขียนรายงาน
  6. 5-9 ก.ย.                                       การนำเสนอ

6.    งบประมาณที่ใช้
1.             ค่าปริ้น    20 แผ่น                 เป็นเงิน  20  บาท
2.             ค่าเข้าเล่ม 1 เล่ม                    เป็นเงิน  10  บาท
                                              รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   30  บาท

7.    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1       การพัฒนาเว็บไซต์เรื่องผ้าไหมไทยประสบผลสำเร็จมีผู้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับผ้าไทยมากขึ้น
7.2       มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรามากขึ้น
7.3       เป็นประโยชน์ต่อที่ผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับผ้าไหมไทยมากขึ้น

8.    เอกสารอ้างอิง

Thank everybody