ประวัติผ้าไหมไทย


History of Thai silk..

ประวัติผ้าไหมไทย


ผ้าไหมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายที่สืบสานกันมากว่า 3,000 ปีมาแล้วโดยมีแหล่งสำคัญอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้ขยายไปยังภาคเหนือตอนบน จนปัจจุบันได้แพร่กระจายไปทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งมีความแตกต่างกันในลวดลายตามเชิงความคิดและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงฟื้นฟูไหมไทย วัสดุธรรมชาติที่ทรงคุณค่าทางเศรษฐกิจ คงไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าเส้นใยไหมที่ทำให้ได้สิ่งทอที่สวยงาม ดังเช่นผ้าไหมไทยที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนมีชื่อเสียงลือไปทั่วโลก การผลิตไหมในประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาขึ้น เมื่อรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม จนปัจจุบันการผลิตไหมในประเทศไทยเป็นการสร้างอาชีพ และรายได้ให้กับประชากรการเลี้ยงไหมและทอผ้าในภาคอีสาน จากสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตฯ กล่าวว่า สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2360 ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ขุนนางชาวเวียงจันทน์ชื่อนายแลเป็นหัวหน้านำชาวลาวข้ามโขงมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเนินอ้อม (เมืองชัยภูมิ) นายแลและพวกมี ความชำนาญในการเลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม ต่อมาได้เอาใจออกห่างจากนครเวียงจันทน์และหันมาสวามิภักดิ์ต่อไทยในสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) นายแลได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิแต่ได้ถึงแก่กรรมก่อนจะสร้างเมืองเสร็จ ชาวเมืองจึงปลูก ศาลขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายแลผู้บุกเบิกสิ่งทอไทย ศาลนี้มีชื่อว่า "ศาลเจ้าพ่อพระยาแลจึงเป็นที่เข้าใจว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า ไหมได้แพร่หลายไปทั่วภาคอีสานของไทย ตั้งแต่นั้นมา

กรมช่างไหม ตำบลศาลาแดง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
ในสภาพสังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม หน้าที่ของสตรีชาวอีสานแสดงให้เห็นวิถีชีวิตและโลกทัศน์ของหญิงกล่าวคือ ผู้หญิงต้องเรียนรู้ และฝึกหัดการทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก พัฒนาฝีมือความสามารถในวัยสาว เพื่อ เตรียมพร้อมสำหรับพิธีแต่งงานตามค่านิยมของคนอีสาน จนวัยผู้ใหญ่มีครอบ ครัว และวัยชราก็กลายมาเป็นผู้ถ่ายทอดทักษะฝีมือ รวมทั้งการอบรมสั่งสอน การทอผ้าให้กับลูกหลาน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนั้นมีมา ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 2 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึง มีแนวคิดที่จะส่งเสริมการเลี้ยงไหมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทอผ้าไหม ส่งเป็นสินค้าออก และอาจกล่าวได้ว่า งานพัฒนาการเกษตรอย่างมีวิชาการเริ่ม ต้นด้วย กรมช่างไหม ซึ่งตั้งขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ




Thank everybody .